O4 ข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

บทบาท อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการตรวจสอบ
และติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

ที่มา กต.ตร.

                   ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 76* กำหนดว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ” บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญคังกล่าวได้ถูกนำมาปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเมื่อครั้งมี พ.ร.ฎ.โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2541 โดยได้กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้เป็นองค์กรที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตรวจสอบการใช้อำนาจของข้าราชการตำรวจระดับต่าง ๆ การจัดตั้งองค์กรคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจครั้งแรกได้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2542 ตามระเบียบนี้กำหนดให้มี กต.ตร. 2 ระดับ คือ
          (1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ” กต.ตร.”
          (2) คณะกรรมกรตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า กต.ตร.กทม. และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กต.ตร.จังหวัด ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ ( กต.ตร. ) ได้ออกระเบียบ กต.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสถานีตำรวจ พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานระดับสถานีตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค 1 ถึง 9 เรียกโดยย่อว่า “กต.ตร.สถานีตำรวจ” และตามข้อ 10 ของระเบียบดังกล่าวได้ให้อำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการหน่วยงานอื่นในระดับเดียวกับสถานีตำรวจซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งได้แก่ ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจรถไฟ ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการตรา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายบริหารราชการตำรวจ ตามกฎหมายนี้มีบทบัญญัติที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานตำรวจ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้นไว้อย่างชัดเจน โดยกำหนดไว้ในมาตรา 7 ว่า “ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งสริมให้ท้องถิ่นและ ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การคำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด “  พร้อมกันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงานตำรวจโดยกำหนดให้มีองค์กรนโยบายขึ้นใหม่แทนคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานดำรวจแห่งชาติ (กต.ตร.) เรียกว่าคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามน โยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมาย นอกจากนี้ยังให้มีอำนาจหน้าที่ในการ  
                1) ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจและวิธีปฏิบัติราชการของข้ราชการตำรวจให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด  
                2) เสนอแนะให้มีการตรา พ.ร.ฏ.โอนอำนาจหน้าที่ให้เป็นของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใด ตามมาตรา 6 วรรคสอง   
               
3) พิจารณาคำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ      
              4) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม
               5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช.มอบหมาย     
               6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น       
              7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มึกฎหมายกำหนด และยังคงให้มีกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร จังหวัดและสถานีตำรวจอยู่ โดยกำหนดให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายการบริหารงานตำรวจของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ซึ่งแตกต่างไปจากอำนาจหน้าที่เดิม ส่วนแนวคิดในการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.กทม. จังหวัด และสถานีตำรวจ ยังคงให้เป็นองค์กรที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้กับประชาชนในชุมชนและหมู่บ้านกว้างมากขึ้น ทั้งต้องการให้เป็นองค์กรที่มีบทบาทตามนัยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติด้วย รวมตลอดทั้งให้มีความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับระบบการบริหารราชการของประเทศ (ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ด้วย) ดังนั้นในการกำหนดองค์ประกอบของ กต.ตร. ในปัจจุบันจึงกำหนดให้มีสัดส่วนของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากขึ้น ตลอดจนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้บริการของตำรวจ พร้อมทั้งให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสถานีตำรวจยังเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้บริหารส่วนท้องถิ่นสามารถเป็นประธาน กต.ตร.สถานีตำรวจได้

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ กต.ตร.สภ.ศรีสาคร

ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สถานีตำรวจในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

รายงานการประชุม

           เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14.00 น. ว่าที่ พ.ต.อ.ภัควัฒน์ วันสนุก ผกก.สภ.ศรีสาคร พ.ต.ท.วรภัทร์ พึ่งเดช รอง ผกก.ป.สภ.ศรีสาคร พ.ต.ท.สุเทพ แก้วสม สว.สอบสวน สภ.ศรีสาคร ร.ต.ท.บดินทร์ ยีมะลี รอง สว.(สส.) สภ.ศรีสาคร ร.ต.ต.ดารอหะ มัดเลาะ รอง สว.(ป.) สภ.ศรีสาคร ร่วมประชุม กต.ตร.สภ.ศรีสาคร เพื่อขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายอดุลย์ สาฮีบาตู ประธาน กต.ตร. และกรรมการร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 2 สภ.ศรีสาคร

ผลการปฏิบัติ

               เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2566 เวลา 07.30 น. ว่าที่ พ.ต.อ.ภัควัฒน์ วันสนุก ผกก.สภ.ศรีสาคร, นายกิตตินันท์ เซ็งกะชรี นายอำเภอศรีสาคร, พ.ท.อริย์ธัช นารี รอง ผบ.ฉก.ทพ.49,พ.ต.ท.วิระ แก้วมณี รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ศรีสาคร, พ.ต.ท.สุวิทย์ ทองอนันต์ สวป.สภ.ศรีสาคร,พ.ต.ท.สุเทพ แก้วสม สว.(สอบสวน)สภ.ศรีสาคร, ร.ต.อ.หญิง กชกร ไชยชนะ รอง สว.ธร.ฯปรท.สว.อก.สภ.ศรีสาคร, ร.ต.ท.บดินทร์ ยีมะลี รอง สว.(สส.) สภ.ศรีสาคร, ร.ต.ต.ดารอหะ มัดเลาะ รอง สว.(ป.)ฯ ปรก.รองสว.ธร.สภ.ศรีสาคร พร้อมข้าราชการตำรวจ สภ.ศรีสาคร งานกิจการพลเรือน และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ นายอดุลย์ สาฮีบาตู ประธาน กต.ตร. และกรรมการ กต.ตร.สภ.ศรีสาคร ร่วมกิจกรรมเสวนา จิบกาแฟแชร์ความคิด “ เช้านี้ ที่ศรีสาคร ” ณ ห้องประชุมชั้น 4 สถานีตำรวจภูธรศรีสาคร

รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ
และติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

คณะกรรมการ กต.ตร.สภ.ศรีสาคร

โดยตำแหน่ง

พ.ต.อ.ภัควัฒน์  วันสนุก
ผกก.สภ.ศรีสาคร

พ.ต.ท.วรภัทร์  พึ่งเดช
รอง ผกก.ป.สภ.ศรีสาคร

พ.ต.ท.วิระ  แก้วมณี
รอง ผกก.(สอบสวน) สภ.ศรีสาคร

พ.ต.ท.สัณฐิติ  จวบอรุณ
รอง ผกก.สส.สภ.ศรีสาคร

นายปรีชา คำนึง 
ปลัดอำเภอศรีสาคร

จากการเลือกโดยประชาชน

นายอดุลย์ สาฮีบาตู
กรรมการ/นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะมะยูง

นายอาหะมะรูซี เจ๊ะคอ
กรรมการ/นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลศรีสาคร

นายอับดุลตอเละ เจ๊ะคอ 
กรรมการ/กำนันตำบลซากอ

นายรอซาลาลี สาและ 
กรรมการ/เกษตรกร

นายยารูมี ซาเงาะ
กรรมการ/รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต

นายมะรอตือปิ สือรีกือจิ 
กรรมการ/เกษตรกร

ส.ต.อ.ซุลกิฟลี เจ๊ะมามะ
กรรมการ/ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน

จากการคัดเลือกโดยประชาชน

นายสาและ ตาลี
กรรมการ/นายกองค์การบริหารส่วนตำบลซากอ

นายวสันต์ เจ๊ะอาลี
กรรมการ/เกษตรกร

นายชาคริต โต๊ะนากายอ
กรรมการ/เกษตรกร

นายต่วนกูอัมรี ต่วนจอลง
กรรมการ/สาธารณสุขอำเภอศรีสาคร

นายยารูมี ซาเงาะ
กรรมการ/รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต

นายมะรอตือปิ สือรีกือจิ 
กรรมการ/เกษตรกร